ดินสอเขียนแบบ


ดินสอเขียนแบบ





ดินสอเขียนแบบ เป็นอุปกรรณ์สำคัญที่ใช้ในการเขียนแบบด้วยมือเปล่า การเขียนแบบด้วยดินสนจะสามารถลบได้ง่าย  ไส้ของดินสอจะทำมาจากกราไฟต์ ซึ่งจะมีความแข็งหรืออ่อนแตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งานของดินสอ  ดินสอเขียนแบบจะมีรหัสที่เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลขพิมพ์ไว้ เช่น H,  2H,  3H,  HB,  2B,  6B,  F เป็นต้น
เกรดความแข็งของไส้ดินสอ แบ่งเป็น 3 เกรดใหญ่ๆ คือ แข็ง  ปานกลาง  และอ่อน  โดยจัดเป็นกลุ่มดังนี้
-  เกรดแข็ง  ตั้งแต่ 4H  5H  6H  7H  8H  9H  โดยเบอร์ที่มีเลขมากจะมีความแข็งมาก  ใช้สำหรับเขียนงานที่ต้องการความเที่ยงตรงสูง หรือการร่างแบบ
-  เกรดปานกลาง ตั้งแต่  B  HB  F  H  2H  3H   ใช้งานเขียนแบบโดยทั่วๆ ไป
-  เกรดอ่อน ตั้งแต่ 2B  3B  4B  5B  6B  7B ใช้สำหรับการเขียนงานศิลปะชนิดต่างๆ  จะดำมากไม่เหมาะในงานเขียนแบบทางอุตสาหกรรม  
รหัสของดินสอ  มีความหมายดังนี้
ตัวอักษร มาจากคำว่า Hard ที่แปลว่า แข็ง ดินสอที่มีรหัส หมายถึง ดินสอที่มีไส้แข็ง ส่วนตัวเลขหน้าตัวอักษรจะบอกระดับของความแข็ง  ตัวเลขมากก็จะมีความแข็งมากขึ้น  ดินสอรหัสอักษร จะเหมาะสำหรับการเขียนเส้นที่บางๆ เช่น เส้นร่าง
อักษร มาจากคำว่า Blackness ที่แปลว่า ความดำ  ดินสอที่มีรหัสอักษร จะหมายถึงดินสอที่ใช้สำหรับเขียนเส้นที่ต้องการความดำของเส้น ตัวเลขหน้าตัวอักษรจะบอกระดับความเข้มของสี  ตัวเลขมากจะมีความเข้มของสีมาก  ดินสอที่มีรหัส จะเป็นดินสอที่มีไส้อ่อน  หักได้ง่ายถ้าใช้น้ำหนักในการเขียนมาก  ดินสอรหัส มักนิยมใช้ในการแรเงาภาพ
อักษร มาจากคำว่า Fine ที่แปลว่า ละเอียด  ดินสอที่มีรหัส จะหมายถึง ดินสอที่ใช้สำหรับเขียนเส้นที่มีความคม และละเอียด
ดินสอที่มีรหัส 2 ตัว เขียนติดกิน เช่น HB  HH  มีความหมาย ดังนี้
HB  (Hard and Black) หมายถึง ดินสอไส้แข็งและมีความดำของเส้น
HH (Very Hard) หมายถึง ดินสอไส้แข็งมาก
ดินสอเขียนแบบ มี 3 แบบ คือ
1.  แบบมีเปลือกไม้  จะต้องเหลาให้ไส้มีความยาวประมาณ 10 มม.  ซึ่งจะเหลาได้ 2 แบบ คือแบบกรวย ใช้สำหรับขีดเส้นเต็มบาง เช่น เส้นร่าง เส้นกำหนดขนาด  และแบบลิ่ม ใช้สำหรับขีดเส้นเต็มหนา  เช่น เส้นกรอบรูป เส้นประ เป็นต้น

ภาพที่ 4 ดินสอแบบมีีเปลือกไม้ 
(ที่มา : วิเชียร  บุญรัตน์, ถ่ายเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2556)

2.  แบบเปลี่ยนไส้ได้ชนิดต้องเหลา  มีไส้โตประมาณ  มม.  ต้องเหลาปลายไส้ให้แหลมเหมือนมีเปลือกไม้แต่ใช้สะดวกกว่า

ภาพที่ 5 ดินสอแบบเปลี่ยนไส้ได้ชนิดต้อเหลา 
(ที่มา : วิเชียร  บุญรัตน์, ถ่ายเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2556)
3.  แบบเปลี่ยนไส้ชนิดไม่ต้องเหลา  ขีดเส้นได้ความหนาของเส้นตามมาตรฐานได้โดยไม่ต้องเหลาเพราะมีขนาดความโตเพื่อใช้กับไส้ขนาดต่างๆ เช่น  0.5 มม.


ภาพที่ 6 ดินสอแบบเปลี่ยนไส้ชนิดไม่ต้องเหลา 

(ที่มา : วิเชียร  บุญรัตน์, ถ่ายเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2556)

ความคิดเห็น